เสนอตอน “น้องเปปเปอร์ ปะทะ ตุ่มน้ำใส” เคยสังเกตบ้างมั้ยคะว่า บางทีในช่องปากของเรา อาจเคยพบ “ตุ่มน้ำใส” เกิดขึ้น ไม่ว่าจะพบที่บริเวณ ริมฝีปากล่าง กระพุ้งแก้ม หรือ เพดานอ่อนในช่องปาก เป็นต้น 👉👉👉ตุ่มน้ำจะแตกและหายไปได้เอง หรือ บางครั้งก็เป็นนาน และไม่หายเอง และอาจจะไปกัดโดนตุ่มน้ำนั้นได้
☆☆☆ การเกิดตุ่มน้ำในช่องปาก อาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ
ในเกร็ดความรู้นี้จะกล่าวถึง 😼😼😼
ตุ่มน้ำใสที่เกิดจากการฉีกขาดท่อน้ำลายของต่อมน้ำลายเล็กๆ ในช่องปาก ที่มีชื่อเรียก ในภาษาไทยตามศัพท์บัญญัติทางทันตแพทยศาสตร์ว่า …ถุงน้ำเมือกหรือถุงเมือก… และมีชื่อเรียกเป็น ภาษาอังกฤษว่า “Mucocele” ค่ะ
โดยปกติแล้ว ในช่องปากของเราจะมีต่อมน้ำลายเล็กๆ อยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นบริเวณ ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก และ พื้นปากใต้ลิ้น เป็นต้น
♤♤♤ต่อมน้ำลายเหล่านี้ จะผลิตน้ำลาย ส่งมาตามท่อน้ำลายที่มีรูเปิดอยู่ตามบริเวณต่างๆ ของเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก ทำให้ภายในช่องปากเรามีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา บางครั้งเราอาจจะทำให้ท่อน้ำลายเล็กๆ นี้ฉีกขาดได้โดยไม่ตั้งใจ 👉👉👉โดยอาจจะเกิดจาก
• การกัดโดนเนื้อเยื่ออ่อนในปาก
• การกระแทกด้วยของแข็ง
• หรือจากการบาดเจ็บอื่นๆ
เมื่อท่อน้ำลายมีรูรั่วจากการฉีกขาด น้ำลายที่ถูกส่งมาจากต่อมน้ำลายก็จะรั่วซึมออกมาจากท่อน้ำลายตรงบริเวณที่ท่อมีการฉีกขาด¤¤¤
เกิดการขังของน้ำลายอยู่บริเวณเนื้อเยื่ออ่อนใต้เยื่อบุผิวในช่องปาก กลายเป็นตุ่มน้ำใสในช่องปากที่เรียกว่า ถุงน้ำเมือก นั่นเอง
ถ้าตำแหน่งที่น้ำลายขังอยู่ใกล้ๆ กับเยื่อบุผิวในช่องปาก เราก็จะเห็นเป็นตุ่มน้ำใสในช่องปาก ซึ่งจะแตกออกและหายได้เอง ☆☆☆
ในกรณี แบบนี้ ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาใดๆ และ อาจจะเป็นซ้ำได้อีก
แต่ถ้าตำแหน่งที่น้ำลายขังอยู่ลึกลงไป ก็อาจจะเห็นเป็น”การยกนูนขึ้นมาเป็นรูปโดม”♧♧♧ในช่องปาก ไม่แตกและไม่หายได้เอง อาจจะพลาดไปกัดโดนได้ ตุ่มน้ำ
ในกรณีควรต้องมาปรึกษาทันตแพทย์แล้วล่ะค่ะ เพราะการรักษา สำหรับตุ่มน้ำใสที่ไม่แตกเองนี้คือ การตัดออกค่ะ