ผ่าฟันคุด

ฟันคุด คืออะไร ? ตั้งเเต่เล็กจนโต เป็นที่ทราบกันดีว่าคนเราจะมีฟันด้วยกันทั้งหมดสองชุด คือฟันน้ำมัน และฟันแท้ ซึ่งฟันแท้จะมีด้วยกันทั้งหมด 32 ซี่ หากลองนนับดูเล่นๆ บางคนอาจมีครบ แต่บางคนก็มีไม่ครบ ซึ่งฟันเล่มที่ขึ้นสุดท้าย ขึ้นมาเฉียงๆ เอียงๆ ติดฟันข้างเคียง ฟันที่ขึ้นมาไม่ได้ ฝังอยู่ในขากรรไกร เราเรียกว่า “ฟันคุด

 

 

 

ฟันคุด มีทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่

    1. ฟันคุดชนิดล้มไปด้านหน้า (mesioangular impaction) เป็นกรณีพบมากที่สุด (44%) หมายถึง ฟันนั้นหักเป็นมุมไปด้านหน้า ไปทางด้านหน้าของปาก
    2. ฟันคุดชนิดตั้งตรง (vertical impaction, 38%) หมายถึง ฟันงอกไม่พ้นขอบเหงือกทั้งหมด
    3. ฟันคุดชนิดหันส่วนครอบฟันออก (distoangular impaction, 6%) หมายถึง ฟันงอไปข้างหลัง ไปทางด้านหลังของปาก
    4. ฟันคุดชนิดวางตัวในแนวราบ (horizontal impaction) เป็นกรณีพบน้อยที่สุด (3%) หมายถึง ฟันกรามทำมุม 90 องศาไปด้านข้าง เข้าไปในรากของฟันกรามซี่ที่สอง

ฟันกรามซี่สุดท้ายที่คุดอาจจำแนกโดยใช้เกณฑ์ว่าฟันนั้นยังอยู่ในขากรรไกรทั้งหมดหรือไม่ หากฟันนั้นยังหุ้มในขากรรไกรสมบูรณ์อยู่ เรียกว่า ฟันคุดโดยต้องกรอกระดูกและฟัน (bony impaction) หากฟันนั้นงอกพ้นขากรรไกร แต่ยังไม่พ้นขอบเหงือก จะเรียกว่า ฟันคุดโดยไม่ต้องกรอกระดูกและฟัน (soft tissue impaction)

ฟันคุด นี่เองที่มักก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านสุขภาพ และจิตใจ เนื่องจากส่วนมากแล้วฟันคุดมักขึ้นมาแบบผิดปกติ และนำปัญหาสุขภาพช่องปากมาคอยทำให้เป้นกังวลใจ ซึ่งทันตแพทย์ส่วนใหญ่จะเเนะนำให้ถอนหรือผ่าฟันคุดออก ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่ควรเอาฟันคุดออก คือ อายุระหว่าง 16 – 25 ปี เพราะว่าจะทำให้เกิดผลเสียน้อย เนื่องจากเป็นช่วงที่รากของฟันยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ กระดูกขากรรไกรก็ยังไม่หนา การหายของแผลก็เป็นไปได้อย่างง่าย เป็นผลดีมากกว่าเอาออกเมื่อมีอายุมากกว่านี้

ปัญหาสุขภาพช่องปาก เนื่องจากฟันคุด ได้แก่

  1. ปวด เนื่องจากตัวฟันคุดเองมีแรงผลักเพื่อจะงอกขึ้นมาในขากรรไกร แต่ถูกกันหรือติดโดยฟันข้างเคียง ทำให้มีแรงย้อนกลับไปกดที่เส้นประสาทของขากรรไกร จึงทำให้มีอาการปวด บางครั้งอาจส่งผลไปยังบริเวณอื่นของใบหน้า เช่น ปวดหน้าหู ปวดตา ปวดศีรษะ เป็นต้
  2. ฟันคุดทำให้ฟันเก แรงดันของฟันคุด มากพอที่จะผลักให้ฟันข้างเคียงรับกระทบต่อๆ กันไปจนฟันบิดซ้อนกันได้ ในการจัดฟันทันตแพทย์มักแนะนำให้ถอนฟันคุดออกก่อนใส่เครื่องมือ
  3. ฟันคุดทำให้ฟันผุ ฟันคุดเป็นที่กักเศษอาหาร ทำความสะอาดยากเพราะอยู่ลึกใกล้ลำคอ การที่มีเศษอาหารสะสมอยู่บริเวณนั้นนานๆ ก็ทำให้ฟันผุง่าย และมักจะมีฟันที่ดีๆ ข้างเคียงผุด้วยจนไม่สามารถรักษาได้ ทั้งอาจจะต้องถอนพร้อมฟันคุดอย่างน่าเสียดาย
  4. ฟันคุดทำให้เหงือกอักเสบ เนื่องจากเศษอาหารที่ค้างอยู่ใต้เหงือกที่คลุมฟันอยู่นั้นเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียที่ยากทำความสะอาดได้หมดจด ซึ่งง่ายต่อการเกิดเหงือกอักเสบและบวม
  5. ฟันคุดทำให้ติดเชื้อ เรื่องนี้เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย เพราะการติดเชื้อจากฟันคุด มันทำให้ขากรรไกรบวม ถ้าเป็นรุนแรง อ้าปากไม่ขึ้นกลืนไม่ได้ ลุกลามลงคอ พาลหายใจไม่ได้เอา ถึงขนาดต้องนอนโรงพยาบาล รักษาอย่างเร่งด่วนกันเลย
  6. ฟันคุดมีโอกาสทำให้เกิดถุงน้ำ (CYST) ซึ่งจะขยายอยู่ในกระดูกขากรรไกร หากไม่เคยได้รับการตรวจฟัน มักจะรู้ตัวอีกทีเมื่อเห็นใบหน้าเอียงหรือขากรรไกรข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้าง การที่มี cyst อยู่ในขากรรไกรก็เหมือนกับลูกโป่งที่มันจะค่อยๆ พองใหญ่ขึ้นเบียดกินกระดูกขากรรไกรไปเรื่อยๆ ถ้าพบเข้าและรีบทำการผ่าตัดออกได้เร็ว การสูญเสียอวัยวะ ขากรรไกรก็น้อย ยังสามารถรักษารูปหน้าให้เหมือนเดิมได้ แต่ถ้า cyst ใหญ่มากๆ ก็อาจถึงขนาดต้องตัดขากรรไกรบางส่วนออก การรักษารูปใบหน้าให้เหมือนเดิมก็ทำได้ยากขึ้นโดยเฉพาะกรณีที่ cyst นั้นเปลี่ยนไปเป็นเนื้องอกบางชนิด

เมื่อทราบอย่างนี้แล้วมาปรึกษาทันตแพทย์ อย่าปล่อยให้ฟันคุดลอยนวลนะคะ!!!